Economics หรือ เศรษฐศาสตร์
เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด"
งบประมาณแผ่นดิน
งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลและการจัดหารายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น จึงเรียกว่า งบประมาณแผ่นดินประจำปี ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมของปีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณแผ่นดินและนำเสนอเพื่อพิจารณา เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจตออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีเพื่อใช้บังคับต่อไป
การจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รัฐบาลมีการวางแผนที่จะดำเนินการไว้ล่วงหน้าและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนประกอบของอุปสงค์รวม การวางแผนการใช้จ่ายและการหารายรับจะทำให้สามารถคาดคะเนสภาพเศรษฐกิจในปีต่อไปได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้รัฐบาลบริการการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในขอบเขตของงบประมาณที่จัดทำขึ้น


ความสำคัญของงบประมาณ
งบประมาณเป็นปัจจัยสำคัญและมีประโยชน์ต่อการบริหารงานของรัฐบาล ในด้านต่าง ๆ หลายประการ คือ
1. รัฐบาลใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายไว้ กล่าวคือ รัฐบาลสามารถบรรลุงานที่รัฐบาลต้องการที่จะดำเนินการตามนโยบาย เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศตลอดจนงานที่รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไว้ในแผนงานและโครงการต่าง ๆ ในแผนการใช้จ่ายของรัฐบาล ตามกำลังเงินที่มีอยู่ และให้ทุกส่วนราชการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ในแผนงาน โครงการต่าง ๆ และรัฐบาลก็สามารถใช้แผนงานหรือโครงการเหล่านั้น ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงาน ของรัฐบาลว่าหน่วยงานต่าง ๆ สามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด และมีประสิทธิภาพหรือไม่
2. รัฐบาลใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ รัฐบาลสามารถใช้ประโยชน์จากงบประมาณทั้งในด้านการหารายได้ และการใช้จ่ายของรัฐบาลในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางเศรษฐกิจ เช่น ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยการจัดสรรงบประมาณและใช้จ่ายงบประมาณในโครงการในด้านการลงทุนเพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน การคลังของประเทศ โดยการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ ในกรณีที่เศรษฐกิจมีภาวะเงินเฟ้อ ปริมาณเงินในท้องตลาดหรือประเทศมีมากกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตออกมาขาย รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อใช้งบประมาณเกินดุล เพื่อลดปริมาณเงินในท้องตลาดให้น้อยลง โดยการใช้จ่ายให้น้อยกว่ารายรับที่ได้มา เป็นต้น
3. รัฐบาลใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในทางสังคม กล่าวคือ รัฐบาลสามารถใช้ประโยชน์จากงบประมาณ โดยการจัดสรรงบประมาณให้มีการสร้างสาธารณูปโภค ถนน ไปสู่ประชาชนที่ยากจนในชนบทให้มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่ยากจนสามารถใช้ในการขนส่งผลผลิตของตนเองออกขายสู่ตลาดภายนอกได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยพ่อค้าคนกลาง ก็จะช่วยให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น มีรายได้สูงขึ้น ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ของประชาชน และช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
4. รัฐบาลใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในทางการเมือง กล่าวคือ รัฐบาลสามารถใช้ประโยชน์จากงบประมาณเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์งานและผลงานที่รัฐบาลจะ ดำเนินการให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ เนื่องจากในเอกสารงบประมาณจะแสดงงานและ แผนงานที่รัฐบาลจะดำเนินงานในแต่ละปี ทั้งในด้านสังคม ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร ฯลฯ รัฐบาลจึงสามารถใช้เอกสารนี้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบว่า รัฐบาลได้ นำเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ประชาชนได้เสียให้แก่รัฐในแต่ละปี มาทำประโยชน์อะไรให้แก่ ประชาชนบ้าง ซึ่งจะมีผลให้ประชาชนเข้าใจถึงกระบวนการและความก้าวหน้าของการดำเนินงานของรัฐบาลและจะให้การสนับสนุนรัฐบาล ถ้าประชาชนเห็นว่ารัฐบาลได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ประเภทของงบประมาณ
งบประมาณในแต่ละปี อาจมีรายได้รายจ่ายแตกต่างกันไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เป็นผลดีแก่เศรษฐกิจ
ของประเทศ การจัดทำงบประมาณแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. งบประมาณสมดุล (Balanced Budget) คือรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลมีจำนวนเท่ากัน เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท และรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้ 800,000 ล้านบาท เท่ากับรายจ่ายพอดี
2. งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) รายได้ของรัฐบาลต่ำกว่ารายจ่าย เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้เพียง 780,000 ล้านบาท รายได้ยังน้อยกว่ารายจ่ายอยู่อีก 20,000 ล้านบาท ส่วนที่ขาดอยู่นี้รัฐบาลอาจแก้ไขโดยกู้เงินจากสถาบันการเงินมาชดเชยส่วนที่ขาด หรืออาจนำเงินคงคลัง คือ เงินที่รัฐบาลมีอยู่ออกมาใช้ เพื่อจะได้เพียงพอกับรายจ่าย
3. งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) คือ รายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่าย เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้ถึง 810,000 ล้านบาท รายได้ของรัฐบาลจึงสูงกว่ารายจ่าย 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
งบประมาณในแต่ละปี อาจมีรายได้รายจ่ายแตกต่างกันไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เป็นผลดีแก่เศรษฐกิจ
ของประเทศ การจัดทำงบประมาณแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. งบประมาณสมดุล (Balanced Budget) คือรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลมีจำนวนเท่ากัน เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท และรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้ 800,000 ล้านบาท เท่ากับรายจ่ายพอดี
2. งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) รายได้ของรัฐบาลต่ำกว่ารายจ่าย เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้เพียง 780,000 ล้านบาท รายได้ยังน้อยกว่ารายจ่ายอยู่อีก 20,000 ล้านบาท ส่วนที่ขาดอยู่นี้รัฐบาลอาจแก้ไขโดยกู้เงินจากสถาบันการเงินมาชดเชยส่วนที่ขาด หรืออาจนำเงินคงคลัง คือ เงินที่รัฐบาลมีอยู่ออกมาใช้ เพื่อจะได้เพียงพอกับรายจ่าย
3. งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) คือ รายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่าย เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้ถึง 810,000 ล้านบาท รายได้ของรัฐบาลจึงสูงกว่ารายจ่าย 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
ดุลงบประมาณของประเทศไทย
ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2537-2546
ปีงบประมาณ | รายได้ | รายจ่าย | ดุลเงินงบประมาณ |
2537 | 625,000.0 | 625,000.0 | |
2538 | 760,137.7 | 670,552.5 | 89,585.5 |
2539 | 850,176.8 | 777,245.6 | 72,931.2 |
2540 | 844,194.9 | 910,314.7 | -66,119.8 |
2541 | 727,392.6 | 848,029.0 | -120,636.4 |
2542 | 709,926.6 | 840,185.8 | -130,259.2 |
2543 | 747,626.9 | 868,018.9 | -120,398.0 |
2544 | 765,961.2 | 901,654.9 | -135,693.7 |
2545 | 823,000.0 | 1,023,000.0 | -200,000.0 |
2546 | 825,000.0 | 999,900.0 | -174,900.0 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น